ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้คุณภาพระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2559

โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาผลการดำเนินงานของหลักสูตรเทียบกับมาตรฐาน เกณฑ์การประเมิน และการให้คะแนนของตัวบ่งชี้ต่างๆ ที่กำหนดในคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 ของ สกอ. ปรากฏผลการประเมินและคะแนนในแต่ละตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวบ่งชี้ คะแนนที่ได้ หมายเหตุ/ข้อสังเกต (ถ้ามี)
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 3.51  
1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

3.125

 

 

 

 

 

 

1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 0.52

 

 

 

 

1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

 

 

5

 

 
1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5  
1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3  
คะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 3.36  
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

 

5

 

 

 
2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

 

 

5

 

 
2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

4.17

 

 
คะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 4.72  
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

5

 

 
คะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 5  
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 3  
คะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 3  
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 4  
5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

5

 

 
คะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบ 4.5  

  ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ (13 ตัวบ่งชี้)

 

องค์ประกอบ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย

ผลการประเมิน

0.00 – 1.50 การดำเนินงานต้องปรับปรุงเร่งด่วน

1.51 – 2.50 การดำเนินงานต้องปรับปรุง

2.51 – 3.50 การดำเนินงานระดับพอใช้

3.51 – 4.50 การดำเนินงานระดับดี

4.51 – 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก

1 6 2.88 4.00 3.51 3.36 ระดับพอใช้
2 3 5.00 5.00 4.17 4.72 ระดับดีมาก
3 1 5.00 5.00 ระดับดีมาก
4 1 3.00 3.00 ระดับพอใช้
5 2 4.50 4.50 ระดับดี
รวมตัวบ่งชี้ 4 7 2    
ผลการประเมิน 3.41 4.29 3.84 3.95 ระดับดี

รายงานผลการวิเคราะห์จุดเด่น และโอกาสการพัฒนา

 

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

 

จุดแข็ง แนวทางเสริมจุดแข็ง

– จำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

– การจัดบริการให้คำปรึกษาด้านต่างๆ แก่นักศึกษาอย่างเหมาะสมเเละเพียงพอ

 

– การเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการจัดการบริหารหลักสูตร ภายใต้มาตรฐานการดูเเลนักศึกษาให้มีคุณภาพระดับสูง

– ควรจะมีวิธีการวัดผลความสำเร็จของการให้บริการแก่นักศึกษา ตามวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินโครงการ

จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

– จำนวนของอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก

– จำนวนของอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ

– การประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

 – การส่งเสริมให้อาจารย์เพิ่มคุณวุฒิระดับปริญญาเอกให้มากขึ้น เช่น การจัดหาทุนเรียนต่อระดับปริญญาเอกทั้งภายในเเละภายนอกให้มากขึ้น

– ควรมีการกำหนดการรับอาจารย์ใหม่ ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

– การส่งเสริมให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น เช่น สนับสนุนทุนจัดทำตำราเรีย พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดหาแหล่งทุนวิจัย ทั้งภายในเเละภายนอก เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์มีผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น

– ทุกกิจกรรมควรจะมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม (ถ้ามี)

 

 

 

 

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

 

จุดแข็ง แนวทางเสริมจุดแข็ง

– ได้รับทุนวิจัยจากภายนอกค่อนข้างสูง

 

– ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทุกท่านได้รับทุนวิจัยจากภายนอก
จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

1. คณะควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนอาจารย์ใหม่ (young researcher) ในการทำวิจัยและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งในการวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์

2. ควรเพิ่มการสนับสนุนพันธกิจการทำวิจัยของอาจารย์ด้านสิ่งเกื้อหนุนที่เอื้อต่อการทำวิจัยที่คุณภาพ เช่น Interlibrary loan, การมีอาจารย์พี่เลี้ยง มีผู้ทรงคุณวุฒิในการวิพากษ์โครงร่างวิจัย มีที่ปรึกษาทางสถิติ ความคล่องตัวในทุนสนับสนุนการทำวิจัย ให้รางวัลอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นต้น

 

1.  ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร ทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้เพิ่มมากขึ้น

2.  เพิ่มวิธีการเสริมสร้างขวัญกำลังใจและเชิดชูเกียรติให้กับอาจารย์ที่มีผลงานดีเด่น และสามารถนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบ พร้อมทั้งให้รางวัลผลงานตีพิมพ์

วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม (ถ้ามี)

 

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

 

จุดแข็ง แนวทางเสริมจุดแข็ง
การบริการวิชาการตอบสนองความต้องการของชุมชน และสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ควรเพิ่มการให้บริการวิชาการแบบบูรณาการโดยเป็นความร่วมมือของอาจารย์แต่ละสาขาวิชาหรือความร่วมมือของอาจารย์ต่างคณะเพื่อให้ผลของโครงการเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน
จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

 

–    การประเมินผลความสำเร็จ

 

 

 

–     ควรกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินโครงการ

–     ติดตามความต่อเนื่องของการใช้ประโยชน์ การบริการวิชาการ

วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม (ถ้ามี)

 

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

 

จุดแข็ง แนวทางเสริมจุดแข็ง
จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

–    การประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

 

– ทุกกิจกรรมควรจะมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม (ถ้ามี)

 

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็ง แนวทางเสริมจุดแข็ง
–    ให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษา

– ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสู่ระบบคุณภาพที่สูงขึ้น

 

จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

–   การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน

–   การจัดการความเสี่ยง

– ควรมีการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อหาต้นทุนต่อหน่วย เพื่อบริหารหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– ควรดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปใช้ในการบริหาร

วิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม (ถ้ามี)
 

ข้อเสนอแนะจากการสัมภาษณ์

 

กลุ่มผู้ใช้บัณฑิต

 

จุดเด่น ข้อเสนอแนะในการพัฒนา

–   มีความตั้งใจเรียนรู้ ตั้งใจทำงาน

–   มีความขยัน อดทน

–   พัฒนาความสามารถทางภาษาและการสื่อสาร

–   เพิ่มเติมทักษะภาวะความเป็นผู้นำ

 

 

ศิษย์เก่า

 

จุดเด่น ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
–   อาจารย์ดูแล เอาใจใส่นักศึกษาอย่างใกล้ชิด  

 

นักศึกษา

 

จุดเด่น ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
–   อาจารย์ดูแล เอาใจใส่นักศึกษาอย่างใกล้ชิด

–     เพิ่มเติมเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รายวิชาปฏิบัติการทางไฟฟ้า

–     เพิ่มเติมห้องสำหรับนักศึกษา เช่น ห้องอ่านหนังสือ ห้องสโมสรนักศึกษา ห้องจัดกิจกรรมนอกเหนือเวลาราชการ โต๊ะเก้าอี้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ อุปกรณ์ในการจัดทำกิจกรรม

–   การวางแผนเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่สำคัญ เพื่อให้ทันต่อความต้องการของสถานประกอบการเช่น รายวิชา PLC ที่ทางสถานประกอบการแนะนำมาว่าสามารถใช้ในการทำงานของบัณฑิต

 

พนักงาน (สายสนับสนุน)

 

จุดเด่น ข้อเสนอแนะในการพัฒนา

–   บรรยากาศการทำงานอบอุ่น แบบครอบครัว

–   มีการสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่

 

–   การกำหนดกรอบ อัตรากำลัง พนักงานมหาวิทยาลัย ให้กับพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ความมั่นคงในอาชีพ

–   การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานให้ประสิทธิภาพมากขึ้น